ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น
ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น "กะหลก" แห่ขอหวย!

 

 

ชาวบ้านตำบล แม่นาวาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่  ฮือฮา พบท่อนซุงยาวสองเมตรเศษอยู่ใต้พื้นทราย

กลางลำน้ำคาดว่าเป็นกะหลก(เกราะ) ที่ใช้ในการตีบอกสัญญาณหรือเหตุการณ์ต่างๆ ชาวบ้านต่างพากันแห่มากราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลและหาเลขเด็ดกันอย่างคึกคัก

 

ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น "กะหลก" แห่ขอหวย!
ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น “กะหลก” แห่ขอหวย!

 

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2559 พื้นที่ ตำบลแม่นาวาง อำเภอแม่อาย มีการนำรถแบ๊คโฮขุดลอกลำน้ำฝางที่ตื้นเขิน นำขึ้นไปถมเป็นพนังกั้นน้ำ และได้ขุดลึกลงไปประมาณ 15 เมตร พบท่อนซุงสีดำจมอยู่ใต้พื้นทราย

ในตอนแรกคนขับคิดว่าเป็นโลงศพสมัยโบราณ จึงนึกกลัวไม่กล้าดำเนินการต่อ และได้มาแจ้งให้ทางผู้ใหญ่บ้านทราบ ทางหมู่บ้านพร้อมกับคณะสงฆ์และชาวบ้านได้พากันเดินทางไปทำพิธีขอขมาและทำพิธีอัญเชิญขึ้นจากหลุมทราย แล้วนำมาล้างน้ำออกปรากฏว่า มีทรายไหลออกมาจากช่องที่ถูกเจาะกว้างประมาณ 3 นิ้ว

 

ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น "กะหลก" แห่ขอหวย!
ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น “กะหลก” แห่ขอหวย!

 

ด้านในมีลักษณะกลวงและลึกลงไปประมาณครึ่งหนึ่ง และทำพิธีอัญเชิญมาไว้ที่วัด ธัมมิกกาวาส(บ้านคายใน) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม59 ที่ผ่านมา เมื่อข่าวการพบไม้ดังกล่าวแพร่กระจายกันออกไปทำให้มีผู้คนหลั่งไหลเดินทางมากราบไหว้สักการะบูชา มีการนำเอาผ้าสีมาผูกมัด เหล่านักเสี่ยงโชคต่างพากันมาแสวงหาเลขเด็ดกันเหมือนเคย

 

ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น "กะหลก" แห่ขอหวย!
ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น “กะหลก” แห่ขอหวย!

 

สำหรับท่อนซุงดังกล่าวนี้   ท่านพระครู สุวัตถ์ ธรรมประภาส เจ้าอาวาสวัด ธัมมิกกาวาส กล่าวว่า เป็นการสันนิฐานว่าซุงไม้ดังกล่าวนี้น่าจะเป็น กะหลก ภาษาพื้นเมืองล้านนา หรือ เกราะ ที่ใช้ในการเคาะบอกสัญญาณเหตุการณ์ต่างๆในยามศึกสงครามหรืออาจใช้เป็น การบอกขานเวลา จะได้ให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิสูจน์  ถึงเรื่องราวต่างๆต่อไป

 

ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น "กะหลก" แห่ขอหวย!
ชาวบ้านฮือฮา! พบท่อนซุง ใต้พื้นทราย คาดเป็น “กะหลก” แห่ขอหวย!

 

ส่วนทางวัดเองไม่ได้เก็บไว้เป็นสมบัติของวัดแต่จะเก็บไว้เป็นสมบัติของชาวบ้าน ตำบลแม่นาวาง ทั้งตำบล และเจตนาก็เพื่อจะได้ให้เยาวชนได้เข้ามาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของวิถีชาวล้านนาโบราณต่อไปในอนาคตและ กะหลก (เกราะ)  มีความยาว 2.9 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 90 ซม.วัดโดยรอบ 230 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 1 ตันเศษ

 

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้